วิธีการป้องกัน รับมือ “ไวรัส COVID-19”

โรงพยาบาลชุมแสง/ January 12, 2021/ covid19

หากท่านมีอาการ มีไข้สูงมากกว่า 37.5 องศา, ไอ, เจ็บคอ, ครั่นเนื้อครั่นตัว, อ่อนเพลีย, หายใจเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก ควรรีบมาพบแพทย์ด่วน!!!! ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า COVID-19 | โควิด19 ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ มีความรุนแรงเทียบเท่ากับโรคซาร์สมากที่สุด ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปอดอักเสบรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้ องค์การอนามัยโลก ยังไม่สามารถหาที่มาของเชื้ออย่างชัดเจนได้ แต่สันนิษฐานว่าอาจจะมาจากเนื้อสัตว์ป่าที่ซื้อขายอยู่ และปัจจุบันเชื้อไวรัสนี้สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้แล้ว จากการถูกไอ จาม หรือสัมผัสกับสารคัดหลั่งของคนที่ป่วย ดังนั้น เราควรดูแลตนเองเพื่อให้ร่างกายห่างไกลจากเชื้อไวรัสโคโรน่า โดยมีวิธีการรับมือ ดังนี้ 1. เชื้อไวรัสนี้ติดต่อผ่านทางลมหายใจ สารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย ควรใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกัน 2. เชื้อไวรัสโคโรน่าติดต่อในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว ควรทานแบบสุกเท่านั้น 3. ควรทานอาหารที่สุกแล้ว งดอาหารดิบ และเนื้อสัตว์ป่า 4. หมั่นล้างมือหรือเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ 5. ไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยที่ไอ จาม 6. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด และมีมลภาวะเป็นพิษ 7. งดเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงโรคระบาด 8. ไม่นำมือมาสัมผัสตา

Read More

โควิด-19 คืออะไร

โรงพยาบาลชุมแสง/ January 12, 2021/ covid19

โควิด-19 คืออะไร? ไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 คืออะไร ? ไวรัสโคโรนา (Coronavirus) เป็นไวรัสที่ถูกพบครั้งแรกในปี 1960 แต่ยังไม่ทราบแหล่งที่มาอย่างชัดเจนว่ามาจากที่ใด แต่เป็นไวรัสที่สามารถติดเชื้อได้ทั้งในมนุษย์และสัตว์ ปัจจุบันมีการค้นพบไวรัสสายพันธุ์นี้แล้วทั้งหมด 6 สายพันธุ์ ส่วนสายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดหนักทั่วโลกตอนนี้เป็นสายพันธุ์ที่ยังไม่เคยพบมาก่อน คือ สายพันธุ์ที่ 7 จึงถูกเรียกว่าเป็น “ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่” และในภายหลังถูกตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า “โควิด-19” (COVID-19) นั่นเอง อาการเมื่อติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือไวรัสโควิด-19 อาการของไวรัสโควิด-19 ที่สังเกตได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง ดังนี้ 1. มีไข้ 2. เจ็บคอ 3. ไอแห้ง ๆ 4. น้ำมูกไหล 5. หายใจเหนื่อยหอบ กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 – เด็กเล็ก (แต่อาจไม่พบอาการรุนแรงเท่าผู้สูงอายุ) – ผู้สูงอายุ – คนที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่นโรคหัวใจ เบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง – คนที่ภูมิคุ้มกันผิดปกติ หรือกินยากดภูมิต้านทานโรคอยู่ – คนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานมาก (คนอ้วนมาก)

Read More